Mindset ที่นำไปสู่ความสำเร็จ 1. แยกแยะประโยชน์และโทษ = ทุกสิ่งล้วนมีทั้งประโยชน์และโทษ มากน้อยไม่เท่ากัน ต้องเรียนรู้ให้ทัน ลงมือทำให้เร็ว ปรับเปลี่ยนให้ไว อย่ากลัวความผิดพลาด เพราะความผิดพลาดจะนำไปสู่การแก้ไขให้เกิดการพัฒนาได้ และต้องลงมือทำบ่อย ๆ อย่าคิดว่าทุกอย่างต้อง Perfect จึงไม่ลงมือทำ การปรับปรุงตนเองเพียงวันละ 1% นำไปสู่การพัฒนาตัวเองได้ - ตัวอย่าง พิษของงู นำมาทำเป็นเซรุ่ม - ตัวอย่าง AI มีโทษทำให้มนุษย์ไม่ได้ใช้ความคิดและมีปัญหาปฏิสัมพันธ์กับคน แม้ AI จะมีโทษ แต่ถ้าเข้าใจโทษของมันแล้ว ...
Jun 29, 2025•59 min•Season 68Ep. 27
Q1: แก้ความขัดแย้ง ด้วยสันติวิธี A: ต้องทำลายข้อจำกัดของแต่ละฝ่าย ด้วยการอยู่เหนือข้อจำกัดเหล่านั้น - สันติวิธี คือ 1. ตั้งสติ = ไม่เผลอเพลินไปตาม “อารมณ์” ชอบใจหรือไม่ชอบใจ มีความอดทนไม่ไปตามการยั่วยุ จะทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วย “เหตุผล” 2. มีพรหมวิหาร 4 = โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เมตตา” และ “อุเบกขา” 3. ไม่ทำผิดศีล = เช่น ไม่ฆ่า ไม่พูดโกหก - การพูดปลุกกระแสให้มีความสามัคคีกัน เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ถ้าพูดเพื่อให้เกลียดอีกฝ่ายหนึ่ง จะเป็นวาจาที่ยุยงให้แตกกัน อย่าให้เป็นอย่างนั้น Q2: รักษาศีลแล้ว จะกินอ...
Jun 22, 2025•54 min•Season 68Ep. 26
ช่วงไต่ตามทาง: สุนัขตาย - ความรัก ความชอบใจ ในสิ่งใด เป็นความเพลิน เป็นอุปาทาน (ความยึดถือ) จิตที่ยึดถือไว้กับสิ่งใด สิ่งนั้นจะเป็นตัวตน (อัตตา) ขึ้นมาทันที เมื่อสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป ต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้น จิตจะถูกฉีกออก แหวกออก กระชากออก จึงเกิดความรู้สึกที่เป็นความทุกข์ขึ้น - ความยึดถือที่เป็นผลจากความทะยานอยาก อันเกิดจากความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน ซึมซาบเข้ามาสู่จิต โดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะถูกอวิชชาบังไว้ ทำให้ตัณหาคืบคลานเข้ามา ทำให้จิตมีทุกข์ - อวิชชา เปรียบเหมือนยาพิษ ตัณหา ความทะยา...
Jun 15, 2025•55 min•Season 68Ep. 25
Q1: การถวายเงินให้พระ A: การถวายเงินให้วัด หากตั้งจิตเจาะจงให้กับหมู่สงฆ์ (หมู่แห่งผู้ฟังคำสอน ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ) ถือเป็นการตั้งเจตนาไว้ดีแล้ว แม้พระสงฆ์ผู้รับไว้แทนจะเป็นพระทุศีล อานิสงส์ผลบุญที่เกิดจากการให้ทานนั้น ยังให้ผลเท่าเดิม - พระพุทธเจ้าทรงเปรียบศาสนาพุทธเหมือนทะเลด้วยอุปมา 8 ประการ หนึ่งในนั้น คือ อุปมาเหมือนทะเลจะไม่อยู่ร่วมกับซากศพ เศษซากต่าง ๆ จะถูกพัดขึ้นฝั่งทั้งหมด คนที่ทำไม่ดีในคำสอนนี้จะอยู่ไม่ได้ จะต้องถูกซัดออกจากศาสนา Q2: ทำบุญชาตินี้ หวังผลชาติหน้า A: การมองการณ์ไกลด้...
Jun 08, 2025•53 min•Season 68Ep. 24
ช่วงไต่ตามทาง: ความคับข้องใจจาก Second-Guess - การตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเห็นการกระทำของคนอื่นแล้ว เกิดความคิดที่สองแทรกขึ้นมาทันที ซึ่งหักล้างกับความคิดแรก อาจเป็นได้ทั้งเรื่องดีหรือไม่ดี ทำให้เกิดความคิดคับข้องใจในเรื่องต่างๆ เป็นลักษณะที่เรียกว่า Second Guessing ซึ่งความคับข้องใจนั้น อาจสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรมหลายแบบในบุคคลคนเดียวกัน เป็น Multiple Personality - ความคับข้องใจ เป็นการเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น หรือทั้งสองฝ่าย - ผู้ฟังท่านนี้เป็นนักธุรกิจ เกิดคำถามในใจตนว่าสินค้าบางอย่างขา...
Jun 01, 2025•1 hr 1 min•Season 68Ep. 23
Q1: กิจกรรมทำบุญในวัด A: การทำบุญ กระทำได้ 3 รูปแบบ คือ ทางกาย (ให้ทาน) ทางวาจา (ศีล) ทางใจ (ภาวนา) - การบูชาบุคคล: - พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ควรบูชาสูงสุด ให้ถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกสูงสุด เพื่อการพ้นทุกข์ - การบูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยบูชาในคุณความดีของบุคคลเหล่านั้น เช่น พ่อแม่ คุณความดีของเทพเจ้า - การอธิษฐาน: - การอ้อนวอนขอร้อง = ปรารถนา “เอาผล” โดยไม่สร้างเหตุที่ถูกต้อง - การอธิษฐาน = ไม่ใช่การอ้อนวอนขอร้อง แต่เป็นการตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำสิ...
May 25, 2025•59 min•Season 68Ep. 22
ช่วงไต่ตามทาง: ความรักของหญิงชาย - ชายหญิงคู่หนึ่ง รักกันตั้งแต่สมัยมัธยม เรียนมหาวิทยาลัยคณะเดียวกัน ตั้งใจว่าเรียนจบจะแต่งงานกัน สองครอบครัวดีมาก ทั้งสองคนได้มาปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ หลายครั้ง ทุกปี ความรู้สึกที่มีให้กันเปลี่ยนแปลงไป ความรู้สึกในทางกำหนัดทางกามจืดจางลง ความเพลิดเพลินในเพศตรงข้ามลดลง เปลี่ยนเป็นความรู้สึกแบบเพื่อน พี่น้อง มองกันด้วยความรัก ความเมตตา เป็นความรักที่บริสุทธิ์ ไม่มีเงื่อนไข ทั้งสองคนเห็นตรงกันว่าจะไม่แต่งงานกัน ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : ครอบครัวเป็นพื้นฐานแห่งชีวิต -...
May 18, 2025•57 min•Season 68Ep. 21
Q1: กรรมเก่าทำให้เกิดทุกข์ A: เหตุปัจจัยเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดสุขทุกข์ มี 8 ประการ สุขภาพ ระบบน้ำดี (ระบบการย่อยอาหาร) สุขภาพ ระบบเสมหะ (ระบบน้ำเหลือง) สุขภาพ ธาตุลม ปัญหาสุขภาพทั้งสามอย่างรวมกัน ฤดูเปลี่ยนแปลง การรักษาตัวไม่สม่ำเสมอ การถูกทำร้าย ผลของกรรม (กรรมเก่าในอดีต, กรรมที่ทำในปัจจุบัน) หากเชื่อว่าสุขทุกข์เกิดเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น = มิจฉาทิฏฐิ ความเชื่อว่าทุกข์เป็นเพราะกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว จะทำให้ในปัจจุบันจิตจะน้อมไปในทางที่ไม่ทำอะไรเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปในท...
May 11, 2025•56 min•Season 68Ep. 20
ลักษณะความคิด - โดยทั่วไปจะเข้าใจว่าร่างกายอาศัยสมองเป็นเครื่องมือในการคิดนึก เพื่อขยับร่างกาย กล้ามเนื้อต่าง ๆ แต่จริง ๆ แล้วมีจิตเป็นตัวควบคุมไว้อีกชั้นหนึ่ง โดยจิตจะใช้สมองเป็นเครื่องมือในการคิดนึกสิ่งต่าง ๆ ระดับการควบคุมร่างกาย 3 ระดับ 1. ควบคุมได้ = แขน ขา ปาก เว้นแต่ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยอื่นก็จะควบคุมไม่ได้ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า 2. ควบคุมได้ในเวลาจำกัดจากนั้นจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ = กลั้นหายใจ กลั้นปัสสาวะอุจจาระ กระพริบตา 3. ควบคุมไม่ได้เลย = เป็นระบบควบคุมด้วยประสาทแบบอัตโนมัติ (Automat...
May 04, 2025•57 min•Season 68Ep. 19
Q1: ธรรมะสำหรับนายจ้างลูกจ้าง A: หน้าที่ของนายจ้างต่อลูกจ้าง 5 ประการ 1. ให้ทำงานตามกำลัง (ความสามารถ) 2. ให้อาหารและรางวัล (ค่าตอบแทน) 3. รักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ 4. ให้ของที่มีรสประหลาด (surprise, motivation) 5. ปล่อยให้อิสระตามสมัย (ให้ลูกจ้างมีเวลาว่างบ้าง) - หน้าที่ของลูกจ้างต่อนายจ้าง 1. ลุกขึ้นทำงานก่อนนายจ้าง 2. เลิกงานหลังนายจ้าง 3. ถือเอาแต่ของที่นายให้ (ไม่ขโมย) 4. ทำงานให้ดีที่สุด - พัฒนาปรับปรุงงานให้ดี ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้ดี 5. นำเกียรติคุณของนายไปร่ำลือ - อิสรชน = คนที่มีอิสร...
Apr 27, 2025•53 min•Season 68Ep. 18
ช่วงไต่ตามทาง: ผู้ฟังท่านนี้ปฏิบัติธรรมแล้วมีอาการได้ยินเสียงในหัวอยู่ตลอด แต่คนอื่นไม่ได้ยิน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่พยายามอยู่กับอาการนี้ให้ได้ โดยปรับกฎเกณฑ์การใช้ชีวิตใหม่เพื่อรักษาจิต เวลาได้ยินเสียงอะไรก็จะไม่ส่งจิตตามไป ซึ่งควบคุมได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ต้องทำความเข้าใจอริยสัจสี่ เข้าใจเรื่องทุกข์ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพื่อให้อยู่กับทุกข์ได้ โดยไม่ทุกข์ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : ภาพและเสียงในหัว ภาพหรือเสียงที่ผ่านเข้ามาทางตา ทางหู เข้าสู่จิตใจ จิตจะเข้าไปเกลือกกลั้วในอารมณ์นั้นหรือไม่ ...
Apr 20, 2025•59 min•Season 68Ep. 17
Q1: มงคลรับวันสงกรานต์ A: ความเป็นมงคลไม่ได้ขึ้นอยู่กับกาลเวลา แต่อยู่ที่การลงมือทำ ทำความดีเมื่อใด ความเป็นมงคลก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น - “พรหมวิหาร 4” เป็นหลักธรรมที่ช่วยคุ้มครองจิตใจของเรา เพื่อให้ชีวิตตลอดทั้งปีเป็นไปด้วยความราบรื่น ผ่านพ้นอุปสรรคทั้งหลายไปได้ และเป็นหลักธรรมที่ผู้ใหญ่พึงมี Q2: สิ่งที่ไม่ควรพูด A: คำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้งเสีย ไม่ควรพูด ได้แก่ 1. คำหยาบ 2. คำพูดที่ทำให้คนแตกกัน แม้เป็นความจริงก็ตาม 3. คำพูดที่ไม่ก่อให้เกิดกุศลธรรมในจิต = คำพูดที่เกิดประโยชน์ คือ เกิดประโยชน์ในปัจจ...
Apr 13, 2025•56 min•Season 68Ep. 16
ช่วงไต่ตามทาง: พระเจ้าปเสนทิโกศลสูญเสียพระนางมัลลิกาภรรยาอันเป็นที่รัก - ความเศร้าโศก ความร่ำไร ย่อมเกิดจากสิ่งอันเป็นที่รักที่น่าพอใจ เมื่อความเศร้าโศก (ลูกศรอาบยาพิษ) ทิ่มแทงกลางอกแล้ว ใครเล่าจะถอนลูกศรนี้ออกได้ จะทำอย่างไรให้จิตใจยังผาสุกอยู่ได้ - คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นยาสมานแผลจากลูกศรนั้น ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: - ลักษณะความสุดโต่งและทางสายกลาง เมื่อสูญเสียคนรัก สุดโต่ง = 1. ร่ำไห้คร่ำครวญ ทุบอกชกตัว งุนงงพร่ำเพ้อ ทานอาหารไม่ลง นอนไม่หลับ ร่างกายซูบผอม การงานอื่น ๆ ไม่ทำ 2. แสดงความโกรธ คว...
Apr 06, 2025•57 min•Season 68Ep. 15
Q1: คนถูกด่าแล้วด่ากลับ เลวกว่าคนด่ามา A: เพราะดูที่กุศลหรืออกุศลที่เกิดขึ้นในจิตใจ คนที่มีความดีอยู่แล้ว เมื่อถูกคนด่า มีความโกรธเกิดขึ้น 1) ความชั่วในทางใจเพิ่มขึ้น 2) ความดีที่ทำอยู่ลดลงหรือหายหมด 3) การด่ากลับไป ทำให้ความชั่วทางวาจาก็เพิ่มขึ้น จึงเห็นได้ว่าจิตใจแย่ลงมากกว่าคนด่ามา ลามก = ความเศร้าหมอง ความเสื่อมทรามลงของจิตใจ วิธีตอบโต้คนที่ด่า คือ ใช้ความอดทนและปัญญา ไม่ด่าตอบเพราะกลัวบาปมากกว่า เมื่อมีผัสสะมากระทบทำให้ความไม่พอใจเกิดขึ้น จะเป็นเครื่องทดสอบว่าเราจะสามารถดำรงกาย วาจา ใจ ให้อ...
Mar 30, 2025•58 min
ช่วงไต่ตามทาง : - ผู้ฟังท่านนี้เป็นโรคกลัวที่แคบ ส่งผลต่อการดำรงชีวิต เช่น นั่งรถ ขึ้นเครื่องบิน ขึ้นลิฟท์ ต้องมีคนไปด้วย เข้าเครื่องทำ MRI หรือ CT Scan ไม่ได้ ต้องให้ยาสลบหรือยากล่อมประสาท และมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย เป็นปมมาจากตอนเด็กเคยถูกทำโทษถูกขังให้อยู่ในโกดังคนเดียว - ผู้ฟังท่านนี้สวดมนต์ นั่งสมาธิ ทำบุญทำทาน มาอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่สาว ๆ แต่อาการก็ยังไม่หาย จนกระทั่งอายุประมาณ 70 ปี อาการกลัวที่แคบและนอนไม่หลับก็หายไปเอง - พิจารณาแล้วเห็นว่า เพราะความกลัวตายจึงกลัวที่แคบ เกิดจากความคิดปร...
Mar 23, 2025•57 min•Season 68Ep. 13
Q1: ช่วยเหลือผู้อื่น เป็นเจ้ากรรมนายเวรหรือไม่ A: การอุปการะผู้อื่นก่อน เป็นธรรมะค้ำจุนโลก - การช่วยเหลือผู้อื่นโดยคิดว่าเขาจะช่วยกลับ จะทำให้ได้บุญน้อย - การช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อให้เป็นเครื่องประดับจิต เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต จะทำให้ได้บุญมาก เพราะจิตจะนุ่มนวลเหมาะสำหรับการเจริญสมถวิปัสสนา Q2: กรรมเก่า เจ้ากรรมนายเวร A: ความเข้าใจที่ถูกต้อง คือ ทุกอย่างมีเหตุ มีปัจจัย มีเงื่อนไข บางอย่างเกิดจากกรรมเก่า บางอย่างเกิดจากกรรมใหม่ บางอย่างเกิดจากผู้มีอำนาจบันดาล ให้เรายืนหยัดตั้งมั่นในการสร้างกรรมดีไ...
Mar 16, 2025•53 min•Season 68Ep. 12
ช่วงไต่ตามทาง: ผู้ฟังท่านนี้ เป็นคนจิตใจดี ชีวิตมีความราบรื่นในทุกด้าน ยกเว้นเรื่องคุณแม่ที่มีจิตใจรุ่มร้อน อารมณ์ร้อน นำเงินไปใช้ในทางไม่ควร บ่ายเบี่ยงในการฟังธรรม ผู้ฟังท่านนี้เกิดความกลุ้มใจ เคยพูดเตือน แต่คุณแม่ไม่รับฟัง เลยเปลี่ยนวิธีการพูดโดยยกเอาความดีของท่านขึ้นมาก่อน ความรัก ความเมตตา ความอดทน ยกย่องแม่ด้วยใจจริง จิตใจคุณแม่มีความนุ่มนวลลง จิตใจเปิดกว้างมากขึ้น ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น รับฟังลูกมากขึ้น “สัมมาวาจา” พูดให้เกิดประโยชน์ เป็นกุศล คนฟังก็จะรู้สึกได้ ปมเงื่อนคว...
Mar 09, 2025•56 min•Season 68Ep. 11
Q1: ให้อภัยแต่ได้รับผลร้าย A: การมีเมตตา ต้องไม่มีประมาณ ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีเวร แต่การมีเมตตาต้องมีอุเบกขาประกอบด้วย กล่าวคือ ต้องรู้จักที่จะหยุด (วาง) ด้วยอำนาจของอุเบกขา ไม่เปิดช่องให้คนไม่ดีทำไม่ดีกับเราอีก เราก็จะไม่ได้รับโทษจากการที่มีเมตตา ดังนั้น ต้องปรับเมตตาให้เหมาะสมกับอุเบกขา อุปมาเรื่องเมตตาเสือตกบ่อ แต่ผู้ช่วยเหลือกลับถูกไล่จับเป็นอาหาร จนตกลงไปในบ่อเสียเอง เป็นการได้รับโทษจากการมีเมตตา บัณฑิต จะมองจิตของผู้ทำความดี มีเมตตา เป็นจิตที่มีกุศลธรรม ควรยกย่องผู้ที่มีจิตแบบนี้ ไม่ว่าการมี...
Mar 02, 2025•56 min•Season 68Ep. 10
ค่าของเงิน VS ค่าของผลมะเดื่อ เลขศูนย์แต่ละตัวในเงินมีค่าไม่เท่ากัน เปรียบเทียบกับการได้กินผลมะเดื่อยามหิว ลูกแรก ๆ รู้สึกอร่อย มีค่ามากกว่าลูกหลัง ๆ ฐานของรวงผึ้งหรือจอมปลวกจะกว้างกว่าส่วนปลายเสมอ เปรียบกับการสะสมฐานของทรัพย์หรือหน้าที่การงานต้องมีความมั่นคง พระพุทธเจ้าสอนหลักสมชีวิตา การสะสมโภคทรัพย์ต้องเป็นระบบ คือรายรับต้องท่วมรายจ่ายและอุดรอยรั่ว รายรับ & รายจ่าย รายรับ = ต้องได้มาโดยธรรม ไม่ว่าจะทำเองหรือให้คนอื่นทำให้ Active Income หรือ Passive Income รายจ่าย = ต้องจ่ายใน 4 หน้าที่ คื...
Feb 23, 2025•57 min•Season 68Ep. 9
Q1: ขีดความสามารถของมนุษย์ ชนะได้ด้วยความเพียร A: ความพยายามของมนุษย์ ในการทำสิ่งต่าง ๆ ทำให้เกิดความสำเร็จได้ เช่น ไปดวงจันทร์ ปีนภูเขาสูง ความรู้จากภายนอกไม่มีที่สิ้นสุด แต่ที่สิ้นสุดของโลกหาได้จากภายในกายและใจของเรา ซึ่งการจะรู้เรื่องกายใจของเรานั้นต้องเดินตามทางมรรค 8 ให้ยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่น เป็นมุทิตาในหลักพรหมวิหาร 4 Q2: คำกล่าวที่ดี A: คนเราไม่จำเป็นต้องพูดมาก การกล่าวคำที่ดี คือให้กล่าวคำที่ควรค่าแก่การจดจำ เป็นคำที่ประกอบด้วยธรรม ประกอบด้วยวินัย ถูกต้องตามเวลา ถูกกาล และถูกบุคคล...
Feb 16, 2025•57 min•Season 68Ep. 8
ช่วงไต่ตามทาง : - ผู้ฟังท่านนี้เป็นนักขายประกัน เป็นคนที่มีศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ไม่เชื่อว่าการบนบานศาลกล่าวจะทำให้ขายประกันเพิ่มได้ แต่เพื่อนร่วมวงการไปบนบานแล้วได้ลูกค้าเพิ่ม และตนเองก็เจอลูกค้าที่ให้หมอดูไพ่ก่อนทำประกัน จึงลังเลว่าจะไปบนบานศาลกล่าวบ้างดีหรือไม่ แต่ก็แย้งในใจว่าตนมีศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย - ผู้ฟังอีกท่านหนึ่ง เป็นคนที่มีศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ลูกจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย คนอื่นไปบนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอให้สอบได้ แต่ผู้ฟังท่านนี้ไม่ได้พาลูกไปบนบานศาลกล่าวที่ใด - ความมั...
Feb 09, 2025•57 min•Season 68Ep. 7
Q1: วันมาฆบูชา A: เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ในปีที่ 1 หลังการตรัสรู้ และเป็นวันที่พระพุทธเจ้าปลงอายุสังขาร ในปีที่ 45 หลังการตรัสรู้ ก่อนการปรินิพพาน 3 เดือน - โอวาทปาติโมกข์ เป็นคำสอนที่สำคัญ - ให้เป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะ มีความเพียร เอาเรื่องนี้เป็นเครื่องเตือนสติ ไม่ควรประมาท ควรทำให้รู้แจ้งในคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่ารอตอนเกษียณ Q2: วันวาเลนไทน์ A: ความรักในทางพระพุทธศาสนา = ความเมตตา - ลักษณะของความเมตตา = ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีประมาณ และไม่เว้นใครไว้ (ไม่ผูกเวร) - การแผ่เมตตา ใ...
Feb 02, 2025•52 min•Season 68Ep. 6
Q1: การเมตตาต่อคนในครอบครัว A: ให้แสดงออกซึ่งความรักต่อคนในครอบครัวให้ตรงกันทั้งกาย วาจา ใจ - ให้ใช้เครื่องมือของพรหมวิหาร คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา - อย่าโฟกัสในจุดที่มีปัญหา ให้โฟกัสในจุดที่ดี การเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้นได้ Q2: คำว่า “นมัสการ” ใช้กับใคร A: คำว่า “นมัสการ” ใช้ได้กับนักบวช รวมถึงแม่ชีด้วย Q3: อินทรีย์ 5 A: อินทรีย์ 5 = ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา - ความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม ต้องพัฒนาอินทรีย์ 5 ให้มีกำลัง Q4: ปี 2568 เน้นเรื่องการทำสมาธิ A: การทำสมาธิต้องฝึก - อุปมาเรื่อ...
Jan 26, 2025•1 hr•Season 68Ep. 5
Q1: การพูดตรง ๆ A: สัมมาวาจา 4 ประการ = พูดจริงไม่โกหก, ไม่พูดหยาบ, ไม่พูดยุยงให้แตกกัน, ไม่พูดเพ้อเจ้อ - วาจาหยาบ = วาจาทิ่มแทง หอกคือปาก ไม่ใช่แค่คำหยาบ แต่รวมถึงคำพูดไม่หยาบแต่เนื้อหาทำให้สะเทือนใจ จิตเหินห่างจากสมาธิ - ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า = การเตือนเมื่อเขาทำไม่ดี ให้พูดเฉพาะกับเขาโดยตรง ไม่พูดขณะที่มีคนอื่นอยู่ และคำพูดนั้นต้อง 1. เป็นคำจริง 2. ประกอบด้วยประโยชน์ 3.ถูกเวลา 4. ผู้พูดมีจิตเมตตา Q2: การแต่งกายไปวัดของคนเมืองกับคนชนบท A: เกิดจากผัสสะที่มากระทบให้เกิดความพอใจหรือไม่น่าพ...
Jan 19, 2025•56 min•Season 68Ep. 4
ช่วงไต่ตามทาง: พี่น้องทะเลาะกัน - พี่ชายน้องชายทะเลาะกันเรื่องการทำธุรกิจ และทรัพย์สิน เป็นคดีความกัน ไม่คุยกัน - แต่ละฝ่ายต่างมีเหตุผล แล้วใช้เหตุผลนั้นเป็นเงื่อนไขให้เกิดข้อจำกัด เกิดความหวงกั้น บีบคั้น ทำให้อีกฝ่ายอึดอัด ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ - กฎหมายเป็นเครื่องมือยุติปัญหา แต่ธรรมะเป็นเครื่องมือลดการมีเงื่อนไขที่ทำให้เกิดข้อจำกัดของแต่ละคน ที่ทำให้เกิดการบีบคั้น ความหวงกั้น ทำให้เกิดเรื่องราวตามมา เช่น การด่า การอ้างการทำชั่วเพื่อทำความดี การทำสงคราม - โลกที่มีเงื่อนไข = โลกที่ประกอบด้วยกาม...
Jan 12, 2025•1 hr•Season 68Ep. 3
Q1: การสักการะพระเขี้ยวแก้ว A: การอยู่ใกล้กับพระพุทธเจ้า = การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า - หากจิตเป็นสมาธิ มีสัมมาทิฏฐิ มีความสงบ ไม่มีนิวรณ์ จิตเป็นอารมณ์อันเดียว ก็เหมือนอยู่ติดชายสังฆาฏิของพระพุทธเจ้า เพราะเสมอกันด้วยธรรมะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อันเดียวกันกับพระพุทธเจ้า - หากไม่สะดวกมาสักการะพระเขี้ยวแก้ว ก็สามารถตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าได้ ตามความหมายของบทสวดอิติปิโสฯ - การเดินประทักษิณเพื่อสักการะพระเขี้ยวแก้ว 3 รอบ ในแต่ละรอบจะวนไปทั้ง 4 ทิศ ให้เราตั้งจิตในการรู้อริยสัจทั้งสี่ แบบปัญญา...
Jan 05, 2025•54 min•Season 68Ep. 2
สูญเสียคนในครอบครัว ผู้ฟังท่านนี้สูญเสียคุณพ่อคุณแม่ มีความเสียใจ จิตใจเศร้าหมอง ไม่เป็นสุข ส่งผลให้มองเรื่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตไม่ดีไปด้วย - จิตใจแบบนี้ อุปมาเหมือนฝีกลัดหนอง โดนแผลนิดเดียวก็เจ็บ เมื่อมีผัสสะมากระทบนิดเดียวจะได้รับความกระเทือนใจมาก - จิตตริตรึกเรื่องไหน จิตจะน้อมไปทางนั้น จิตน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง หากเศร้าหมอง เสียใจ จิตก็จะเห็นแต่สิ่งนั้น สิ่งนั้นก็จะมีกำลังให้จิตน้อมไปทางนั้นมากขึ้น ส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย อาจพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้าได้ - วิธีแก้ คือ ต้องมีอำนาจเหนื...
Dec 29, 2024•1 hr•Season 68Ep. 1
Q1: ผลกรรมจากการสอนธรรมะผิด A: หลักการ = คำสอนของพระพุทธเจ้าต้องกลับไปที่แม่บทเสมอ ศาสนาพุทธมีผู้สอนคนเดียว คือ พระพุทธเจ้า คนอื่นสอนไม่ได้ ส่วนครูบาอาจารย์ญาติโยมไม่ใช่ผู้สอน แต่เป็นผู้กล่าวตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ด้วยหลักการนี้จะไม่ถูกหลอกได้ง่าย คำสอนจะไม่ผิดเพี้ยน เป็นการรักษาพระสัทธรรมให้ตั้งอยู่ได้นาน - ผู้ฟังธรรมแล้วเอามาเทียบเคียงกับแม่บท ตรวจสอบว่าตรงกับพุทธพจน์บทใด แล้วปฏิบัติตามคำสอน การฟังธรรมนั้นก็จะได้ประโยชน์ แม้ว่าคนสอนจะสอนผิด แต่ถ้าคนฟังปฏิบัติถูก ความถูกต้องก็จะเกิดขึ้นในจิตใจ...
Dec 22, 2024•53 min•Season 67Ep. 52
คำพูดคนอื่นที่รับเอามากระทบจิต - คำพูดไม่ดีเหมือนฝีกลัดหนอง หนองที่ออกมาจากปาก เหม็นด้วย กระทบจิตผู้อื่นด้วย หากเราอยู่ใกล้คนประเภทนี้ เราก็จะโดนอยู่เรื่อย คำด่า คำชม เป็นสุดโต่งทั้งสองข้าง - การกล่าวหา คือ การกล่าวถึง - คำด่า คำชม สำหรับผู้ฟังไม่ได้ต่างกันเพราะเป็นสุดโต่งทั้งสองข้าง คือ ทำให้เกิดความพอใจหรือไม่น่าพอใจ เกิดเป็นกิเลส คือ ความลุ่มหลงยินดีพอใจหรือเกิดความขัดเคืองไม่พอใจ ซึ่งผู้ฟังไม่ควรให้เกิดกิเลส สำหรับผู้พูดจะเกิดกรรม หากเป็นคำด่าก็เกิดกรรมชั่ว ถ้าเป็นคำชมก็เกิดกรรมดี ซึ่งผู้พูด...
Dec 15, 2024•59 min•Season 67Ep. 51
Q1: วิธีระงับผลของกรรมชั่ว A: การทำให้ “สิ้นกรรม” ในทางพระพุทธศาสนาสามารถทำได้ เช่น กรณีพระองคุลีมาล - ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม คือ การบรรลุธรรม บรรลุพระนิพพาน ไม่ต้องเกิดอีก - ยิ่งมีเงื่อนไขในความสุขมาก ยิ่งมีความทุกข์มาก ยิ่งมีเงื่อนไขในความสุขน้อย ยิ่งมีความสุขที่เหนือกว่าสุขเวทนามาก เพราะมีความทุกข์น้อย - แนวทางที่จะทำให้มีเงื่อนไขในความสุขน้อยลง จนถึงไม่มีเงื่อนไขให้ทุกข์เลย ประกอบด้วย องค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง (มรรค 8) - เมื่อเจอเส้นทางแห่งมรรค 8 แล้ว ให้เดินตามเส้นทางนี้ไปจนสุ...
Dec 08, 2024•56 min•Season 67Ep. 50