ถูกบีบคั้นให้ทำไม่ดี แก้อย่างไร [6822-1u] - podcast episode cover

ถูกบีบคั้นให้ทำไม่ดี แก้อย่างไร [6822-1u]

May 25, 202559 minSeason 68Ep. 22
--:--
--:--
Download Metacast podcast app
Listen to this episode in Metacast mobile app
Don't just listen to podcasts. Learn from them with transcripts, summaries, and chapters for every episode. Skim, search, and bookmark insights. Learn more

Episode description

Q1: กิจกรรมทำบุญในวัด

A: การทำบุญ กระทำได้ 3 รูปแบบ คือ ทางกาย (ให้ทาน) ทางวาจา (ศีล) ทางใจ (ภาวนา)

- การบูชาบุคคล:

    - พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ควรบูชาสูงสุด ให้ถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกสูงสุด เพื่อการพ้นทุกข์ 

    - การบูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยบูชาในคุณความดีของบุคคลเหล่านั้น เช่น พ่อแม่ คุณความดีของเทพเจ้า

- การอธิษฐาน: 

    - การอ้อนวอนขอร้อง = ปรารถนา “เอาผล” โดยไม่สร้างเหตุที่ถูกต้อง

    - การอธิษฐาน = ไม่ใช่การอ้อนวอนขอร้อง แต่เป็นการตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นการ “สร้างเหตุ” เพื่อหวังเอาผล  


Q2: ทางออกจากวงจรอุบาทว์ของจิต

A: จิตมีความเป็นประภัสสร แต่ธรรมชาติของจิตจะไหลไปตามกระแสของสิ่งต่างๆ ที่มากระทบ ทำให้จิตผ่องใสได้ เศร้าหมองได้

- การพัฒนาจิต = ผู้ที่มีปัญญาจะทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามทางสายกลาง (มรรค 8) จิตจะผ่องใสได้ โดยไม่ต้องพึ่งสิ่งแวดล้อมภายนอก 

- กิเลสทำให้จิตไม่สงบ เมื่อจิตไม่สงบก็จะทำให้เกิดกิเลส เป็นเช่นนี้วนไป เป็นวงจรอุบาทว์ของจิต (Vicious Cycle) 

- วิธีออกจากวงจรอุบาทว์ของจิต = เริ่มจากเปลี่ยนคำถามว่า "ทำไมจิตถึงเป็นอย่างนั้น" เป็น "ใครหนอจะรู้ทางออกของความทุกข์นี้ สักหนึ่งหรือสองวิธี?" จิตก็จะเปลี่ยนโฟกัสทันที สัมมาสติเริ่มเกิดขึ้นแล้ว (พุทโธ) จากนั้นให้นึกถึงพระสงฆ์ผู้ที่เคยแก้ปัญหาความทุกข์ในจิตได้แล้ว (สังโฆ) โดยมีพระธรรมเป็นกระบวนการในการแก้ปัญญานั้น (ธัมโม) เมื่อเห็นดังนั้นแล้ว จะเกิดความมั่นใจ (ศรัทธา) และเมื่อมีศรัทธาแล้วจะเกิดการลงมือทำจริง แน่วแน่จริง ได้ผลเป็นจิตที่ผ่องใส เมื่อจิตผ่องใส ก็ยิ่งมีความมั่นใจความศรัทธามากขึ้น ก็จะยิ่งทำจริง แน่วแน่จริง มากยิ่งขึ้น (ความเพียร) จิตก็จะพัฒนายิ่งขึ้น 


Q3: ถูกบีบคั้นให้ทำไม่ดี แก้อย่างไร

A: การรู้ว่าสิ่งไหนควรทำ (กุศล) หรือไม่ควรทำ (อกุศล) อันนี้ดี เป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว แต่ที่ยังลงมือทำสิ่งที่ควรทำไม่ได้ เพราะยังมีความเพลิน ยังไม่มีสัมมาสติและสัมมาวายามะ (การทำจริง แน่วแน่จริง) แก้ได้โดยระลึกถึงคนที่เคยถูกบีบคั้นเรื่องเดียวกัน แต่เขาฝืน ทวนกระแสแล้ว ทำได้แล้ว เช่น พระพุทธเจ้า ปูชนียบุคคลอื่น ก็จะมีพลังใจขึ้น (สัมมาสติ) นำไปสู่การลงมือทำในสิ่งที่เป็นกุศล (สัมมาวายามะ) ต่อไปได้


Q4: การพูดโกหก VS การเลี่ยงบาลี 

A: โกหก = พูดไม่ตรงตามความเป็นจริง เช่น เห็น บอกไม่เห็น, ทำ บอกไม่ได้ทำ, ได้ยิน บอกไม่ได้ยิน

- การเลี่ยงบาลี ไม่ผิดศีล


Q5: พระสงฆ์ฉันอาหารเวลาใด 

A: ห้ามพระสงฆ์ฉันอาหารนอกกาล = หลังเที่ยง (พระอาทิตย์ตรงศีรษะ) (วิกาล)

- สิ่งที่ฉันได้หลังวิกาล = ยา (ต้องมีเหตุป่วยจึงจะฉันได้), น้ำ+ดิน, ปานะ (น้ำผลไม้ที่ผ่านการกรอง ไม่เติมน้ำตาล ไม่ผ่านความร้อน เช่น น้ำมะม่วง)

- หากพระสงฆ์รับอาหารหลังวิกาลแล้ว ถือว่าอาหารนั้นจะฉันไม่ได้อีก 

- การถวายสังฆทานซึ่งมีอาหารรวมอยู่ด้วย หลังเที่ยง มีวิธีการแก้ปัญหา คือ ให้มีผู้จัดการแทน (เช่น ไวยาวัจกร) แยกส่วนที่เป็นอาหารไว้ โดยที่พระยังไม่ได้รับ แล้วให้มีผู้ประเคนถวายให้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

For the best experience, listen in Metacast app for iOS or Android
Open in Metacast
ถูกบีบคั้นให้ทำไม่ดี แก้อย่างไร [6822-1u] | 1 สมการชีวิต podcast - Listen or read transcript on Metacast