การอธิษฐาน VS การบน [6807-1u] - podcast episode cover

การอธิษฐาน VS การบน [6807-1u]

Feb 09, 202557 minSeason 68Ep. 7
--:--
--:--
Download Metacast podcast app
Listen to this episode in Metacast mobile app
Don't just listen to podcasts. Learn from them with transcripts, summaries, and chapters for every episode. Skim, search, and bookmark insights. Learn more

Episode description

ช่วงไต่ตามทาง : 

- ผู้ฟังท่านนี้เป็นนักขายประกัน เป็นคนที่มีศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ไม่เชื่อว่าการบนบานศาลกล่าวจะทำให้ขายประกันเพิ่มได้ แต่เพื่อนร่วมวงการไปบนบานแล้วได้ลูกค้าเพิ่ม และตนเองก็เจอลูกค้าที่ให้หมอดูไพ่ก่อนทำประกัน จึงลังเลว่าจะไปบนบานศาลกล่าวบ้างดีหรือไม่ แต่ก็แย้งในใจว่าตนมีศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย 

- ผู้ฟังอีกท่านหนึ่ง เป็นคนที่มีศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ลูกจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย คนอื่นไปบนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอให้สอบได้ แต่ผู้ฟังท่านนี้ไม่ได้พาลูกไปบนบานศาลกล่าวที่ใด

- ความมั่นใจอันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ สามารถยังประโยชน์ให้ถึงความสำเร็จในชีวิตได้


ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: การอธิษฐาน VS การบน

- พระพุทธเจ้าสอนว่า “ถ้าลำพังคนเราจะได้อะไร เพียงจากการอ้อนวอนขอร้องแล้ว จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร” การอ้อนวอนขอร้องไม่ใช่หลักการของคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยสิ้นเชิง สิ่งที่ท่านให้ทำคือ “อธิษฐาน”

- ความงมงาย = ศรัทธาที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา

- อธิษฐาน = ไม่ใช่การบนบาน อ้อนวอนขอร้อง แต่หมายถึง การตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่เป็น “การสร้างเหตุ” ที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จ ไม่ใช่อธิษฐานเพื่อขอผลสำเร็จ โดยจะมีเครื่องบูชาหรือไม่ก็ได้ สำคัญอยู่ที่ใจ เช่น เพื่อให้ได้ผลนี้ ขออธิษฐานตั้งจิตไว้ว่าจะสร้างเหตุอย่างนี้

- อย่างไรก็ตาม การบูชาสิ่งที่ควรบูชาเป็นมงคลอย่างยิ่ง เช่น การบูชาบรรพบุรุษ (ความเมตตากรุณาที่ท่านเลี้ยงดูเรามา) การบูชาเทพเจ้า (ซึ่งมีความดี เช่น ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ ความเพียร) ให้บูชาความดีเหล่านั้นให้เข้ามาอยู่ในจิตใจของเรา

- เครื่องบูชา มี 2 รูปแบบ ได้แก่ การให้ทานโดยมีผู้รับ และการบูชายัญโดยไม่มีผู้รับ ความเชื่อที่ว่ายัญที่บูชาแล้วมีผล ทานที่ให้แล้วมีผล นั่นเป็นสัมมาทิฏฐิ

- สังคหวัตถุ 4 ธรรมให้เกิดความเป็นที่รัก สามารถทำให้เกิดความสำเร็จได้ ได้แก่ การให้ การมีปิยวาจา การประพฤติประโยชน์ และการวางตนเสมอกัน

- การมีระเบียบวินัย นำไปสู่ความสำเร็จได้

- พระพุทธเจ้าอธิษฐานสร้างเหตุให้เกิดความสำเร็จในการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่สุด

- ศรัทธา = ความมั่นใจ = ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุและผล ประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่ความเชื่อแบบงมงาย

1. ศรัทธาในเรื่องของกรรม = เชื่อในกฎแห่งกรรม

2. ศรัทธาในผลของกรรม (วิบาก) = ผลของกรรมอาจไม่ได้ให้ผลในทันที แต่จะให้ผลในเวลาต่อไป และให้ผลไม่เท่ากัน มากบ้างน้อยบ้าง

3. ศรัทธาว่าสัตว์มีกรรมเป็นของของตน = แต่ละคนย่อมต้องรับผิดชอบในการกระทำของตนที่ได้ทำไว้

4. ศรัทธาในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า = พุทโธ (ทางพ้นทุกข์มีอยู่) ธัมโม (วิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์มีอยู่) สังโฆ (ผู้ปฏิบัติแล้วพ้นทุกข์ได้จริงมีอยู่) ให้มีศรัทธาในข้อนี้แบบอจลศรัทธา คือ ศรัทธาเหมือนเสาหินยาว 16 ศอก มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1 ศอก เป็นเสาหินทั้งแท่งไม่มีรอยต่อ ฝังลงไปในดินลึก 8 ศอก โผล่ขึ้นพ้นดินยาว 8 ศอก ทำมุม 90 องศากับพื้นดิน ตบดินให้แน่นอย่างดี ลมจะไม่สามารถพัดเสานี้ให้สั่นคลอนได้ ผู้ที่มีศรัทธาในข้อนี้อย่างเต็มเปี่ยม สามารถยังประโยชน์ให้ไม่ต้องเกิดอีก เป็นพระโสดาบันเข้าถึงกระแสที่จะเข้าสู่พระนิพพานได้

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

For the best experience, listen in Metacast app for iOS or Android
Open in Metacast
การอธิษฐาน VS การบน [6807-1u] | 1 สมการชีวิต podcast - Listen or read transcript on Metacast