การให้อภัยที่ปราศจากโทษ [6810-1u] - podcast episode cover

การให้อภัยที่ปราศจากโทษ [6810-1u]

Mar 02, 202556 minSeason 68Ep. 10
--:--
--:--
Download Metacast podcast app
Listen to this episode in Metacast mobile app
Don't just listen to podcasts. Learn from them with transcripts, summaries, and chapters for every episode. Skim, search, and bookmark insights. Learn more

Episode description

Q1: ให้อภัยแต่ได้รับผลร้าย

A: การมีเมตตา ต้องไม่มีประมาณ ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีเวร

  • แต่การมีเมตตาต้องมีอุเบกขาประกอบด้วย กล่าวคือ ต้องรู้จักที่จะหยุด (วาง) ด้วยอำนาจของอุเบกขา ไม่เปิดช่องให้คนไม่ดีทำไม่ดีกับเราอีก เราก็จะไม่ได้รับโทษจากการที่มีเมตตา  
  • ดังนั้น ต้องปรับเมตตาให้เหมาะสมกับอุเบกขา
  • อุปมาเรื่องเมตตาเสือตกบ่อ แต่ผู้ช่วยเหลือกลับถูกไล่จับเป็นอาหาร จนตกลงไปในบ่อเสียเอง เป็นการได้รับโทษจากการมีเมตตา  
  • บัณฑิต จะมองจิตของผู้ทำความดี มีเมตตา เป็นจิตที่มีกุศลธรรม ควรยกย่องผู้ที่มีจิตแบบนี้ ไม่ว่าการมีชีวิตอยู่ของผู้นั้นจะสั้นหรือยาวก็ตาม 


Q2: หาความสุขในชีวิตนี้ให้เต็มที่ 

A: กามสุข = ความสุขที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ทำได้ตราบใดที่ไม่ผิดศีล

  • แต่ความสุขที่เหนือกว่ากามสุข มีอยู่ คือ ความสุขที่เกิดจากความสงบ การมีปัญญา มีสมาธิ
  • ให้หาความสุขที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้นจากภายนอกเข้ามาสู่ในภายใน


Q3: ทำบุญด้วยความไม่เต็มใจ

A: การทำบุญทำทานยังไงก็ได้บุญ เพราะเกิดจากการกระทำทางกาย แต่จะได้บุญมากหรือน้อย เศร้าหมองหรือไม่ อยู่ที่ว่ากำหนดจิตไว้อย่างไร ไม่ได้อยู่ที่จำนวนเงินมากหรือน้อย ดังนั้นผู้ให้ต้องตั้งจิตไว้ให้ดี กาย วาจา ใจ ต้องสอดคล้องไปด้วยกัน 


Q4: ทำบุญหวังผล

A: ทำบุญต้องหวังผล 

  • ถ้าผลที่หวังเป็นเรื่องกาม = บุญก็จะไม่บริสุทธิ์ ได้บุญน้อย 
  • ถ้าผลที่หวังคือความดี ให้จิตสูงขึ้น กำจัดความตระหนี่ = ได้บุญมาก
  • การอ้อนวอนขอร้อง = หวังเอาผลโดยไม่สร้างเหตุ ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นเรื่องของคนมีทุกข์ต้องการที่พึ่ง
  • การตั้งจิตอธิษฐาน ไม่ใช่การอ้อนวอนขอร้อง แต่เป็นการตั้งจิตเพื่อสร้างเหตุและปัจจัยให้เกิดความสำเร็จ 


Q5: ที่สุดของการให้ทาน

A: การให้ทานมีหลายขั้น

  1. ให้ทานด้วยความอยาก ได้บุญนิดหน่อย
  2. ให้ทานด้วยคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี
  3. ให้ทานด้วยว่าเป็นประเพณี โดยปรารภถึงบรรพบุรุษ
  4. ให้ทานด้วยว่าภิกษุ ไม่อาจทำอาหารเองได้ 
  5. ให้ทานด้วยว่าผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบให้ทาน
  6. ให้ทานด้วยจิตเลื่อมใส
  7. ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต = ทานนั้นทำให้เกิดสมถะวิปัสสนา คือ เกิดปีติ เกิดปัญญาจากการสละออก


Q6: การเพิ่มกำลังของอินทรีย์ 5

A: อินทรีย์ 5 = ความเป็นใหญ่ของจิตใจที่จะบรรลุธรรม ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา 

เมื่อทำสิ่งใด สิ่งนั้นจะมีพลัง ดังนั้น ให้ฝึกเจริญอินทรีย์ 5 แต่ละข้อให้มาก ก็จะมีกำลังมากขึ้น 


Q7: ฟังบทสวดมนต์แล้วหลับ

A: แต่ละคนมีอินทรีย์แก่กล้าไม่เท่ากัน บางคนฟังเทศน์ ฟังบทสวดมนต์ แล้วไม่หลับ เพราะมีกำลังจิตไม่เหมือนกัน 

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

For the best experience, listen in Metacast app for iOS or Android
Open in Metacast
การให้อภัยที่ปราศจากโทษ [6810-1u] | 1 สมการชีวิต podcast - Listen or read transcript on Metacast