ปัญญาส่องใจจากภัยน้ำท่วม [6740-1u] - podcast episode cover

ปัญญาส่องใจจากภัยน้ำท่วม [6740-1u]

Sep 29, 202455 minSeason 67Ep. 40
--:--
--:--
Download Metacast podcast app
Listen to this episode in Metacast mobile app
Don't just listen to podcasts. Learn from them with transcripts, summaries, and chapters for every episode. Skim, search, and bookmark insights. Learn more

Episode description

Q1: ปัญหาเพื่อนบ้านให้อาหารนกพิราบ

A: การอยู่ร่วมกันในสังคม ต้องไม่เบียดเบียนทั้ง 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนเรา ส่วนเขา ส่วนร่วม และส่วนรวม การกระทำใดเป็นการเบียดเบียนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ)

- การขจัดปัญหาเพื่อนบ้านให้อาหารนกพิราบ ทำให้นกมาทำรัง มีมูลนก ต้องทำความสะอาดเพิ่ม ลำพังเพียงคาถาบทใดบทหนึ่งจะทำให้สิ่งใดสำเร็จขึ้นมาได้ อันนี้เป็นความเข้าใจผิด ความเข้าใจที่ถูกคือต้องอาศัยทั้งกาย วาจา และใจ ที่เป็นไปในทางเดียวกัน สิ่งใดสิ่งหนึ่งจึงจะสำเร็จขึ้นมาได้

(1) ทางกาย (ทำดี) = ทำความสะอาดในสิ่งที่คนอื่นทำไว้ เหมือนทำงานจิตอาสากวาดลานวัด

(2) ทางวาจา (ปิยวาจา) = พูดคุยทำความเข้าใจกันด้วยปิยวาจา

(3) ทางใจ (สัมมาทิฏฐิ+แผ่เมตตา) = ถ้ามีมุมมองว่าถูกเบียดเบียน ก็จะเป็นทุกข์ แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองว่าเรามีจิตอาสาทำความสะอาดในสิ่งที่คนอื่นทำไว้เหมือนพระปุณณมันตานีบุตร ก็จะเป็นบุญ จึงต้องปรับที่มุมมองของเรา และเจริญเมตตาแผ่ให้ทั้งเพื่อนบ้านและนกเหล่านั้น จะทำให้เมื่อเรามองเห็นจะไม่ขัดเคืองใจ มีความชุ่มเย็นอยู่ในใจ

- อย่ามองว่าปัญหานี้เกิดจากกรรมเก่าโดยส่วนเดียว ให้ทำสิ่งดีขึ้นมาใหม่ สร้างสิ่งที่เป็นกุศล ละสิ่งที่เป็นอกุศล (ความคิดเบียดเบียน) ด้วยการแผ่เมตตา แม้สถานการณ์จะไม่เปลี่ยนไป แต่เราจะไม่ทุกข์เท่าเดิม ความทุกข์จะผ่อนคลายลง

Q2: ประสบภัยน้ำท่วมเป็นกรรมเก่าหรือไม่

A: สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปได้ทั้ง 3 อย่าง ทั้งจากตัวเราทำเอง กรรมเก่า หรือผู้ที่มีฤทธิ์บันดาล

- มิจฉาทิฏฐิ = ความคิดสุดโต่ง

(1) สุขหรือทุกข์เกิดจากกรรมเก่าเพียงอย่างเดียว – จิตจะน้อมไปในทางที่ไม่ทำอะไร

(2) การอ้อนวอนร้องขอต่อสิ่งใดแล้วสิ่งนั้นจะสำเร็จโดยส่วนเดียว

(3) สิ่งใดสำเร็จได้ด้วยการกระทำของตนเท่านั้น – หากทำแล้วไม่สำเร็จก็จะเกิดความท้อใจ เสียใจได้

- สัมมาทิฏฐิ = ทางสายกลาง ทุกอย่างมีเหตุมีปัจจัย ไม่สำเร็จก็ไม่ทุกข์ สำเร็จก็ไม่ยึดติด มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำสิ่งที่ควรทำ ละสิ่งที่ควรละ

-ในช่วงน้ำท่วม

(1) ช่วยเหลือกัน

(2) เข้าใจโลกด้วยปัญญา มีสติ = เห็นด้วยปัญญาว่าสุขก็มี ทุกข์ก็มี ละความยึดถือ เมื่อยอมรับได้ก็จะอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ ทั้งทุกขเวทนาและสุขเวทนาจะแทรกซึมเข้ามาในจิตใจไม่ได้ จะทุกข์แค่ทางกาย แต่ไม่ทุกข์ใจ ให้มีสติตั้งไว้ แก้ปัญหาไปทีละสถานการณ์

Q3: ลูกติเตียนพ่อแม่ที่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นบาปหรือไม่

A: คำพูดด่าบริภาษ = คำหยาบ คำพูดเสียดสี ที่ทิ่มแทงจิตให้หลุดออกจากสมาธิ ไม่ว่าทำต่อใคร เป็นบาปทั้งสิ้น ยิ่งทำกับคนที่มีบุญคุณมาก ก็ยิ่งบาปมาก

- คนที่ควรติเตียน หากไม่ติเตียน อันนี้ทำไม่ถูก

- การติเตียน ให้ติเตียนที่พฤติกรรมซึ่งเกิดจากกิเลสบังคับให้ทำ ไม่ใช่ติเตียนที่ตัวบุคคล

- การติเตียน ทำได้โดยไม่พูดเสียดสีที่ทิ่มแทงจิตให้หลุดออกจากสมาธิ ด้วยวาจาอันหยาบคายร้ายกาจ แต่ถ้าพูดเสียดสีแบบที่ทำให้กิเลสหรือพฤติกรรมที่ไม่ดีหลุดลอกไป อันนี้ถูกต้อง

- การติเตียนพ่อแม่ที่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ต้องไม่ใช้คำด่าบริภาษ ดูช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ท่านจะรับฟัง ผู้พูดต้องใจเย็น การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ด้วยการให้ท่านออกจากบาป ตั้งอยู่ในความดี ประดิษฐานให้ท่านมีศีล เป็นสิ่งที่ลูกพึงกระทำตอบ

Q4: ทำชั่ว โดยไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำเป็นความชั่ว บาปหรือไม่

A: แยกเป็น 2 กรณี

- กรณีแรก ทำโดยไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่ผิด = เป็นโมหะ เป็นบาป เปรียบเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิด ปฏิเสธว่าสิ่งนั้นไม่มี เพราะตนไม่เห็น

- กรณีสอง ทำดีแต่เบียดเบียนผู้อื่น = ต้องแยกส่วน อย่าเหมารวม ให้แยกส่วนดีที่ควรยกย่อง และส่วนไม่ดีที่ควรติเตียน แล้วค่อยกำจัดสิ่งที่ควรติเตียน เพิ่มส่วนที่ควรยกย่อง

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

For the best experience, listen in Metacast app for iOS or Android
Open in Metacast
ปัญญาส่องใจจากภัยน้ำท่วม [6740-1u] | 1 สมการชีวิต podcast - Listen or read transcript on Metacast