ความอดทน vs การนิ่งเฉย [6726-1u] - podcast episode cover

ความอดทน vs การนิ่งเฉย [6726-1u]

Jun 23, 202455 minSeason 67Ep. 26
--:--
--:--
Download Metacast podcast app
Listen to this episode in Metacast mobile app
Don't just listen to podcasts. Learn from them with transcripts, summaries, and chapters for every episode. Skim, search, and bookmark insights. Learn more

Episode description

Q1: วิธีทำให้สติอยู่เหนืออารมณ์

A: พระพุทธเจ้าแบ่งไว้ 3 ระดับ

1) สัตว์เดรัจฉาน: ทำตามอารมณ์ ไม่สนใจผิดชอบชั่วดี

2) มนุษย์: มนุษย์ที่มีพฤติกรรมแบบสัตว์เดรัจฉาน มีการผิดศีล ทำตามความพอใจ หรืออารมณ์ของตนเป็นหลัก ไม่สนใจว่าอะไรถูกหรือผิด และมนุษย์ที่มีศีล “ศีล” คือ ความปกติของความเป็นมนุษย์ แม้จะมีอารมณ์ขึ้น-ลงอยู่บ้าง ก็ไม่ผิดศีล

3) เหนือมนุษย์: จิตใจมั่นคง ไม่โกรธ มีเมตตา อุเบกขา อยู่ตลอดเวลา เป็นจิตใจเทวดา เหนือมนุษย์ (อุตตริมนุสสธรรม)

- ธรรมะที่ทำให้เป็นคนเหนือคน

1) รักษาศีล 5-ทางกาย ทางวาจา

2) มีสติสัมปชัญญะ-รู้ผิดชอบชั่วดี

3) ทำศีล-สติ ให้ละเอียดและมีกำลังมากขึ้น-เพื่อเอาไปใช้ทางด้านจิตใจ ทำให้แยกอารมณ์ออกจากจิตใจได้ จิตจะมีความเข้มแข็งขึ้น

- คนที่รู้ตัวว่าจิตใจกำลังแปรปรวน นั่นคือ มีสติแล้ว รู้ตัวแล้ว หากฝึกให้มีสติบ่อย ๆ สติก็จะมีกำลังมากขึ้น

Q2: การนิ่งเฉย VS ความอดทน

A: คนอื่นคิดอย่างไร ไม่สำคัญเท่ากับว่าเราคิดอย่างไร ไม่ควรให้น้ำหนักกับคำพูดของคนอื่น แต่ให้น้ำหนักกับความคิดหรือสภาวะจิตของเราจะดีกว่า เช่น เมื่อถูกคนอื่นบอกว่าเราเป็นคนโง่ แต่เรารู้ตัวเองว่าเราไม่ได้โง่ เรากำลังมีความอดทนอยู่ ความอดทนนี้เป็นปัญญา เราเป็นผู้มีปัญญา ดังนั้น คำกล่าวหาว่าเราโง่ จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีน้ำหนักเลย อย่างไรก็ตาม เราต้องทบทวนตัวเองด้วยว่าเรามีข้อบกพร่องจริงหรือไม่ ถ้าจริงก็ต้องแก้ไข

- เราต้องอาศัยความอดทนต่อผัสสะที่ไม่น่าพอใจ จึงจะสามารถรักษากุศลธรรมให้เกิดขึ้นได้ ทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้น จึงจะถือเป็นกำไรที่เกิดมาในโลก

Q3: จดจำบุญที่เคยทำไว้ไม่ได้

A: ความจำมี 2 ส่วน คือ สติ และความระลึกได้ ความระลึกได้เรียกว่าสติ ถ้านึกถึงเรื่องไม่ดี ก็เป็นมิจฉาสติ ถ้านึกถึงเรื่องดี ก็เป็นสัมมาสติ การกระทำอะไรลงไปก็ตาม ไม่ว่าด้วยกาย วาจา ใจ การกระทำนั้นจะทิ้งร่องรอยเอาไว้แน่นอน จิตของเราก็เช่นกัน ไม่ว่าทำอะไรด้วยกาย วาจา ใจ ก็จะทิ้งร่องรอยไว้ ร่องรอยนั้นเป็นบารมี เป็นอาสวะที่สะสมไว้ในจิตของเรา จนกลายออกมาเป็นนิสัยของเรา

- ให้ชำระอาสวะที่มีอยู่ในจิต ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เดินทางสายกลาง ปฏิบัติตามมรรค 8 จะเป็นสิ่งที่อยู่เหนือบุญ เหนือบาปได้ แต่ก่อนที่จะอยู่เหนือบุญ เหนือบาปได้ ก็ต้องมาทางบุญก่อน


Q4: การกรวดน้ำอุทิศบุญกุศล

A: สิ่งที่สำคัญ คือ “การตั้งจิต” ว่าจะอุทิศส่วนบุญกุศลให้ ส่วนบทสวดมนต์กรวดน้ำ เป็นรูปแบบที่ครูบาอาจารย์คิดขึ้นมาเพื่อให้เราสามารถตั้งจิตขึ้นได้

Q5: พิธีลอยอังคาร

A: แม้ไม่มีสิ่งที่จับต้องได้เหลืออยู่ การระลึกถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว ให้นึกถึงคุณความดี ระลึกถึงได้โดย “ตั้งจิต” ระลึกถึง

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

For the best experience, listen in Metacast app for iOS or Android
Open in Metacast
ความอดทน vs การนิ่งเฉย [6726-1u] | 1 สมการชีวิต podcast - Listen or read transcript on Metacast