การเชื่อมจิต [6720-1u] - podcast episode cover

การเชื่อมจิต [6720-1u]

May 12, 202455 minSeason 67Ep. 20
--:--
--:--
Download Metacast podcast app
Listen to this episode in Metacast mobile app
Don't just listen to podcasts. Learn from them with transcripts, summaries, and chapters for every episode. Skim, search, and bookmark insights. Learn more

Episode description

Q1: การเชื่อมจิต

A: ปาฏิหาริย์มี 3 อย่าง

1) อิทธิปาฏิหาริย์ = การเหาะเหินเดินอากาศ ทะลุกำแพง

2) อาเทศนาปาฏิหาริย์ = รู้วาระจิต ลักษณะนิสัย ความคิด

3) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สามารถทำตามได้และเกิดผลตามนั้นได้จริง เช่น สมาทานศีลแล้วผู้นั้นรักษาศีลห้าได้ เกิดความสบายใจ ไม่ร้อนใจ การทำสมาธิแล้วเกิดความสงบขึ้นในใจ นี่คือปาฏิหาริย์

- “การเชื่อมจิต” อยู่ในหมวดอาเทศนาปาฏิหาริย์ มี 3 แบบ

1) พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ จะรู้สังเกตดูจากชั้นเชิงของมหาชน = รู้ว่าคนนี้เป็นคนธรรมดา ควรกับสิ่งนี้ รู้ว่าคนนี้เป็นคนพิเศษ ควรกับสิ่งนี้ รู้ว่าคนนี้เหมาะสมกับงานอะไร ต้องการอะไร รู้อุปนิสัย การกระทำ สิ่งที่เขาชอบ ซึ่งสามารถรู้ได้โดยอาศัยการสังเกต

2) รู้วาระจิตของคนอื่น (เจโตปริยญาณ) = รู้ว่าในใจเขาคิดอะไร ทั้งก่อนหน้าและปัจจุบัน ไม่ว่าอยู่ใกล้หรือไกลกัน

3) หูทิพย์ = ได้ยินเสียงในที่ไกล เสียงทิพย์หรือเสียงของมนุษย์

- พระพุทธเจ้าเตือนไว้ว่าอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ไม่ให้แสดง เพราะจะเกิดประโยชน์น้อย โทษมาก แต่ทรงสนับสนุนให้แสดงอนุสาสนีปาฏิหาริย์

- ดังนั้น เวลาที่ได้ยินเรื่องราวปาฏิหาริย์เหนือมนุษย์ ก็ให้ฟังไว้ มีทั้งจริงและไม่จริง สิ่งที่ควรสนใจคือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทำให้เราหลุดพ้นได้จริง (อนุสาสนีปาฏิหาริย์) จึงจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา

Q2: ผู้ที่ไม่นับถืออะไรเลย

A: คนมี 3 ประเภท

1) คนไม่มีที่พึ่ง = ไม่สนใจใคร อยากทำร้ายใครก็ทำ

2) คนที่มีที่พึ่งที่ไม่เกษม = มีที่พึ่งแต่ยังไม่ถูกต้อง ยังไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้จริง เช่น พึ่งภูเขา ท้องฟ้า ผ้ายันต์ เครื่องรางของขลัง จะมีความยับยั้งชั่งใจบ้าง มีความกลัวละอายต่อบาปตามที่ที่พึ่งนั้นเขาบัญญัติขึ้นมา แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง หรือผู้ที่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความรู้อริยสัจสี่ (สีลัพพตปรามาส)

3) คนที่มีที่พึ่งอันเกษม = มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง และเห็นอริยสัจสี่ด้วยปัญญาที่ชัดเจน พ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง

- ดังนั้น แนวทางแก้ปัญหา คือ ต้องให้ปัญญากับสังคม เพื่อปรับทัศนคติให้เกิดความเข้าใจอันถูกต้องให้มาในหนทางอันเกษม เช่น บอกต่อธรรมะที่ได้ยินได้ฟังมา

Q3: บรรลุธรรมจากการฟังธรรมเพียงอย่างเดียว

A: ได้ เพราะจุดที่จะบรรลุธรรม มีเหตุปัจจัย คือ มีสมาธิ (เจโตวิมุตติ) และปัญญา (ปัญญาวิมุตติ) มีลักษณะที่อาสวะจะตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้จาก 5 สาเหตุ 1 ในนั้น คือ การฟังธรรม

- เหตุ 5 ประการที่ทำให้เกิดการบรรลุธรรม

1) เกิดเมื่อได้ฟังธรรม

2) เกิดเมื่อนั่งเงียบๆ แล้วนำสิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังมาใคร่ครวญพิจารณา

3) เกิดขณะกำลังสอนคนอื่น แล้วตนเกิดความเข้าใจเอง

4) เกิดเมื่อได้ท่องธรรมะที่เคยได้ฟังมา (สวดมนต์) จิตใจมีความสงบ

5) เกิดเมื่อได้ตรึกตรองตามธรรมะที่เคยได้ฟังมา

- ถ้าเหตุแห่งการบรรลุธรรมมีอยู่ ผลแห่งการบรรลุธรรมก็ต้องมี เว้นแต่ ได้ทำอนันตริยกรรม 5 อย่าง ก็จะบรรลุธรรมไม่ได้

Q4: การไม่เกิดดีสุด แต่ยังมีการขอพรให้เกิดชาติหน้าเป็นสิ่งที่ดีกว่าชาตินี้ เช่น เทวดา เศรษฐี

A: พระพุทธเจ้าสอนว่า การเกิดเป็นทุกข์ (ชาติปิทุกขา) แต่เป็นเพราะความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ทำให้คิดว่าความเกิดเป็นสุข การเกิดไม่ได้มีสุขอย่างเดียว แต่มีทุกข์มาด้วย ทุกข์จะมาตอนที่ความเกิดแปรเปลี่ยนเป็นความตาย ดังนั้น ทุกข์ที่มาในสุข จึงไม่ใช่สุข

- เหรียญมีสองด้านเสมอ “เวลาเจอ ก็ต้องจาก” “เวลาได้ ก็ต้องเสีย” “เวลาสุข ก็ต้องทุกข์” “เวลาเกิด ก็ต้องตาย” วันหนึ่งเราจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก, สุขเวทนาวันหนึ่งจะแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

- ถ้าเข้าใจทุกข์ได้อย่างถูกต้อง ก็จะอยู่เหนือความทุกข์ได้

- ต้องปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเวลาที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป ก็จะยังเป็นผู้ที่มีความผาสุกอยู่ได้ เป็นผู้อยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ได้

Q5: วิธีกำหนดจิตให้เข้มแข็ง

A: เมื่อเจอผัสสะที่ไม่น่าพอใจ การรักษาจิตให้มีความผาสุกอยู่ได้ ต้องมี “สติ และสมาธิ” เปรียบเหมือนกับเยื่อบาง ๆ ที่หุ้มดอกบัวหรือใบบัว แม้โดนโคลนตมก็ไม่เปื้อนเพราะมีเกราะป้องกัน จิตของเราก็เช่นกันต้องมีเกราะป้องกันด้วย “สติ และสมาธิ”

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

For the best experience, listen in Metacast app for iOS or Android
Open in Metacast
การเชื่อมจิต [6720-1u] | 1 สมการชีวิต podcast - Listen or read transcript on Metacast