อดทน คือ ทุกสิ่ง [6714-1u] - podcast episode cover

อดทน คือ ทุกสิ่ง [6714-1u]

Mar 31, 202457 minSeason 67Ep. 14
--:--
--:--
Download Metacast podcast app
Listen to this episode in Metacast mobile app
Don't just listen to podcasts. Learn from them with transcripts, summaries, and chapters for every episode. Skim, search, and bookmark insights. Learn more

Episode description

Q1: อานิสงส์ของการสักการะพระบรมสารีริกธาตุ

A: พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สถานที่ที่ควรเห็นเพื่อให้เกิดความสังเวช คือ สังเวชนียสถาน 4 ได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน ซึ่งมีการสร้างเจดีย์ที่ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้

- การบูชาพระพุทธเจ้า ไม่ได้ทำเพื่อการอ้อนวอนขอร้องให้ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ทำเพื่อให้เกิดบุญกุศลที่เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งหนึ่งในปัญญาที่ต้องมี คือ การสลดสังเวชใจ คำว่า “สังเวช” ไม่ใช่เรื่องไม่ดี สังเวชเกิดแล้วดีเพราะทำให้เกิดความตื่นตระหนักขึ้น ต่างกับเสียใจที่ยังมีราคะ โทสะ โมหะ ร่ำไห้คร่ำครวญ ส่วนสังเวช (sense of urgency) จะมีความรีบเร่งที่จะดับไฟที่ไหม้ตนอยู่โดยไม่พึ่งพาใครก่อน

- บุญจากการสักการะพระบรมสารีริกธาตุ มี 2 อย่าง (เป็นบุญให้ไปเกิดในสวรรค์ได้)

1. บุญที่เกิดจากอามิสบูชา เช่น การยกมือไหว้ ถวายของ เวียนประทักษิณ เดินจงกรม

2. บุญที่เกิดจากจิตใจที่มีศรัทธา มีปัญญา เกิดความสลดสังเวชใจว่า แม้พระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่ปานนี้ก็ยังต้องปรินิพพาน สรีระเหลือเพียงเท่านี้ เกิดความสลดสังเวชใจ ให้เรายิ่งต้องรีบปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ให้เห็นธรรมที่ท่านเห็นแล้ว ให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า “ธรรมอันใดที่พระพุทธเจ้าเห็นแล้วขอให้เราเป็นผู้ที่มีส่วนแห่งธรรมนั้น” เพื่อจะสร้างเหตุตามท่านไป เพื่อให้มีปัญญาอันเดียวกัน

- ผู้ที่ไม่ได้เดินทางไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สามารถทำอามิสบูชาจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ เพียงแค่ตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า (พุทธานุสติ) จิตก็ไปถึงเสมอเพราะจิตไม่ถูกจำกัดด้วยระยะทางหรือเวลา

- พระอาจารย์ได้ไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุเช่นกัน ได้รับ “พลังใจ” “เกิดปัญญา” ว่า แม้พระพุทธเจ้าก็ยังปรินิพพาน เกิดความสลดใจ ทำให้ “ตั้งหลักขึ้นได้ใหม่” “พลังจิตเพิ่มขึ้นมา” เห็นหลักว่า แม้ตัวพระพุทธเจ้าจะไม่อยู่แล้ว แต่เส้นทาง การปฏิบัติตามมรรค 8 หนทางให้พ้นทุกข์ยังมีอยู่ ให้เราเพียรปฏิบัติต่อไป ก็จะตามท่านไปได้


Q2: เมื่อเห็นสัตว์เบียดเบียนชีวิตกัน

A: แนวคิดทางพระพุทธศาสนา คือ “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” จึงให้ตั้งจิตของเราไว้ด้วยกับ “เมตตา” และ “อุเบกขา”

- เมตตาต้องมาพร้อมอุเบกขา คือ เมตตาทางใจต้องให้ได้อย่างไม่มีประมาณ แต่ให้ไปหยุดอยู่ที่อุเบกขา

- อุเบกขา คือ ความวางเฉยในผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ โดยดูบริบทและความเหมาะสมของสถานการณ์ด้วย อุเบกขาไม่ใช่การปล่อยปละละเลย ไม่สนใจ ไม่แยแส อุเบกขาจะเป็นตัวหยุดความเสียใจ กังวลใจ ฟุ้งซ่าน กำจัดโมหะ


Q3: หนังสือ อดทน คือ ทุกสิ่ง

A: ความอดทนมี 4 ระดับ

1) อดทนได้แบบสบาย (ตีติกขาขันติ)

2) อดทนได้แบบอดกลั้น (อธิวาสนขันติ) – แม้เกิดความไม่พอใจแต่อดกลั้นไม่ให้อกุศลธรรมในใจ (โทสะ การผูกเวร) เกิดขึ้นได้

3) เก็บกด – เกิดอกุศลธรรมในใจ (มิจฉาทิฎฐิ พยาบาท ผูกเวร) แล้ว แต่ไม่ได้แสดงออกมาทางกาย ทางวาจา

4) อดทนไม่ได้ (ขันแตก)

- “ความอดทน” อยู่ในทุกสิ่งในชีวิตของเรา สามารถเปลี่ยนจิตไม่ให้เกิดอกุศลธรรม กำจัดมิจฉาสังกัปปะ (คิดชั่ว) ทำให้เกิดปัญญาในการปล่อยวางอกุศลธรรมได้

- วิธีแก้ความอดทนไม่ได้ (เก็บกด, ขันแตก)

1. ใช้ปัญญาพิจารณาอนัตตา (ความไม่เที่ยง) เช่น เห็นเป็นเพียงลมที่ทำให้เกิดเสียงมากระทบหูให้ได้ยิน ไม่ได้มีตัวตน

2. ใช้ความเมตตา อุเบกขา คือ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ใครทำอย่างไรก็จะได้รับผลแห่งกรรมนั้น ก็จะปล่อยวางได้ โดยเริ่มจากทำจิตให้เป็นสมาธิ จากนั้นตั้งจิตไว้ด้วยกับเมตตา แล้วเอาเหตุการณ์ที่ทำให้เก็บกด, ขันแตก มาแผ่เมตตาให้ตัวเองผ่านไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย เมื่อจิตเราชุ่มอยู่ด้วยกับเมตตาแล้ว ความเก็บกดก็จะเกาะอยู่ที่จิตไม่ได้ ก็จะต้องถูกปลดปล่อยไป


Q4: ทำบุญกับพระในบ้าน (พ่อแม่) กับทำบุญที่วัด

A: บุญในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ การให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ไม่จำกัดว่าต้องไปทำบุญที่วัด หรือกับพระสงฆ์เท่านั้น ปริมาณบุญจากการให้ทานจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ด้วยความมีศีลของผู้ให้และผู้รับ และของที่ให้ทานบริสุทธิ์ ไม่ได้ขโมยมา มีความประณีต

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

For the best experience, listen in Metacast app for iOS or Android
Open in Metacast
อดทน คือ ทุกสิ่ง [6714-1u] | 1 สมการชีวิต podcast - Listen or read transcript on Metacast