บริหารสมองในวัยเกษียณ [6739-1u] - podcast episode cover

บริหารสมองในวัยเกษียณ [6739-1u]

Sep 22, 202459 minSeason 67Ep. 39
--:--
--:--
Download Metacast podcast app
Listen to this episode in Metacast mobile app
Don't just listen to podcasts. Learn from them with transcripts, summaries, and chapters for every episode. Skim, search, and bookmark insights. Learn more

Episode description

ช่วงไต่ตามทาง: ลูกศิษย์ย้อนนึกถึงเมื่อครั้งช่วยสร้างวัด

- ลูกศิษย์ของหลวงพ่อ ดร.สะอาด สมัยเริ่มสร้างวัดป่าดอนหายโศก ได้เคยร่วมสร้างกุฏิ ศาลาปฏิบัติธรรม และมาปฏิบัติธรรมที่วัด แต่ไม่ได้มาวัด 30 ปี จนกระทั่งได้ทราบข่าวการมรณภาพของหลวงพ่อจึงเดินทางมาที่วัด และได้หวนนึกถึงความหลังที่ตนได้สร้างมา จิตใจก็มีความปราบปลื้ม ดีใจ สบายใจ ความระลึกได้นั้นคือ “สติ” ระลึกถึงศีลความดีที่ตนเคยทำมา (สีลานุสติ) ระลึกถึงครูบาอาจารย์ (สังฆานุสติ) ระลึกถึงศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (เทวตานุสติ) ความดีของตนที่ระลึกได้นี้ จะเป็นที่พึ่งของตนในเวลาที่จะจากโลกนี้ไปได้

- ในขณะจิตสุดท้าย ถ้าจิตน้อมไปคิดถึงเรื่องไม่ดี ปองร้าย พยาบาท ทางกาม ก็จะไปไม่ดี เกิดเป็นเปรตหรือสัตว์นรก


ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: บริหารสมองในวัยเกษียณ

- กาย วาจา ใจ จะปรุงแต่งอย่างไรให้สมองและจิตยังดีอยู่ได้ ไม่แก่ไปตามร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ให้ยังมีความผาสุกได้อยู่

- จิตกับสมองไม่เหมือนกัน สมองควบคุมร่างกาย ส่วนจิตควบคุมสมองอีกชั้นหนึ่ง จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการคิดปรุงแต่งการพูดหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย การฝึกสมองผ่านทางกาย ทางวาจา จะทำให้สมองไม่แก่

1. ทางกาย (กายสังขาร) = การเคลื่อนไหวร่างกายมีส่วนสำคัญทำให้สมองมีความคมอยู่ ไม่หลงลืม

(1) นอนให้เพียงพอ

(2) ทานอาหารพออิ่ม - ไม่มากไม่น้อยเกินไป มีคุณค่าต่อร่างกาย

(3) ออกกำลังกายพอประมาณ – การเดินช่วยย่อยอาหารได้ดี

(4) จัดตารางเวลาชีวิต - หนึ่งวันจะทำอะไรบ้าง

2. ทางวาจา (วจีสังขาร) = การพูดจะช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้อย่างดี

(1) อ่านออกเสียง - กระตุ้นสมองให้ประมวลผลเรื่องคำพูด

(2) อธิบายรูปภาพที่เกิดขึ้นในความคิดออกมาเป็นคำพูด - เช่น จะไปกินข้าวนอกบ้าน ให้อธิบายตามภาพที่เกิดขึ้นในหัวเป็นคำพูดว่า จะกินข้าวผัดอะไร จานเป็นยังไง ปริมาณเท่าไร กินที่ไหน แต่งตัวยังไง ไปกันกี่คน

(3) ตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆ หรือ ตอบคำถามคนอื่น – สมองจะได้รับการพัฒนาเมื่อคิดเป็นคำถามในสิ่งที่ยังไม่รู้

(4) สังเกตรูปหรือเสียงต่างๆ – ฝึกอายตนะด้านการรับรู้ ฝึกสติ ช่วยพัฒนาสมอง

(5) ฟังสิ่งที่คนอื่นพูดวิจารณ์เรา – มีสติ คิดตาม เรื่องที่เราต้องปรับปรุง สมองจะได้ใช้งาน

(6) พูดชื่นชมผู้อื่น - ก่อนพูดจะผ่านกระบวนการประมวลผลในสมอง ไม่มีประโยชน์ที่จะนึกถึงความไม่ดีของคนอื่นแล้วทำให้จิตใจเราเศร้าหมอง เราต้องรักษาจิตของเราให้สูงก่อน การมองเห็นแง่ดีของคนอื่นจะช่วยพัฒนาความดีของเราให้มากขึ้นได้

(7) พูดเปรียบเปรย ยกอุปมาอุปไมย เทียบเคียง – เส้นประสาทในสมองจะถูกกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมโยง

3. ทางจิต (จิตสังขาร) = จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการปรุงแต่งออกไปทางกาย ทางวาจา ทางความคิด

(1) ฝึกคิดเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อจิตใจ = ไม่คิดตำหนิผู้อื่น การเขียนอธิบายเป็นตัวอักษร เป็นการทบทวน เป็นการโยนิโสมนสิการอย่างหนึ่ง ไตร่ตรองใคร่ครวญโดยแยบคาย กระชับความคิด ช่วยกระตุ้นสมองให้คิดไปในทางดีได้

(2) ฝึกคิดวางแผนงานล่วงหน้า

(3) ฝึกคิดสร้างสรรค์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

(4) ฝึกสมาธิ - สำคัญที่สุด ให้จิตได้พักผ่อนจากการปรุงแต่ง โดยให้ตั้งสติขึ้น สติเป็นเครื่องมือในการทำให้จิตสงบ เมื่อจิตสงบ การใช้สมองซึ่งเป็นเครื่องมือของจิตก็จะใช้ได้อย่างดี การฟังเทศน์ฟังธรรมจะทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย


โดยสรุป: ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน สิ่งของต่าง ๆ แม้แต่ร่างกายของเรา สิ่งเหล่านี้จะพังทั้งหมด ไม่สามารถเอามาเป็นที่พึ่งได้ แต่สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งของเราได้ คือ จิตที่มีธรรมะ หากจิตมีที่พึ่งที่มั่นคงแล้ว เวลากายแตกดับ ก็จะมีที่พึ่งอันเกษม ที่พึ่งอันสูงสุด การลับสมองของเราให้คมอยู่เสมอ ด้วยกาย วาจา ใจ จะทำให้จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมองยังดีอยู่ได้ ด้วยจิตใจที่ดี จิตใจที่มีกุศลธรรม จากบุญกุศลที่สะสมไว้นั่นเอง และต้องไปตรวจสุขภาพเช็คระบบประสาทและสมองด้วย

Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

For the best experience, listen in Metacast app for iOS or Android
Open in Metacast
บริหารสมองในวัยเกษียณ [6739-1u] | 1 สมการชีวิต podcast - Listen or read transcript on Metacast